วันศุกร์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ค้นคว้าวิจัย

         เรื่อง ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน (สุมาลี หมวดไธสง)

        จุดมุ่งหมาย 
    เพื่อการศึกษาระดับความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยและเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน

         กลุ่มตัวอย่าง
    เด็กปฐมวัยอายุ 5-6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 โรงเรียนสารสาสน์วิเทศ สุวรรณภูมิ สมุทรปราการ จำนวน 180 คน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบกลุ่ม โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม โดยสุ่มมา 1 ห้องเรียนจำนวน 30 คน

        ตัวแปรที่ศึกษา
    1. ตัวแปรอิสระ  ได้แก่  กิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน
    2. ตัวแปรตาม   ได้แก่  ความสามารถในการคิดวิเคราะห์

        เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า
    1. แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในกิจกรรมวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน
    2. แบบทดสอบในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย
                  2.1 การจัดหมวดหมู่
                  2.2 การหาความสัมพันธ์

        การดำเนินการทดลอง
    การทดลองครั้งนี้ดำเนินการในภาคเรียนที่2 ปีการศึกษา2553 เป็นเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 ครั้ง ครั้งละ 40 นาที รวมเวลาทดลองทั้งสิ้น 24 ครั้ง ในช่วงเวลา 10.00 - 10.40 น. 

        สรุปผลการวิจัย
    1. ผลการศึกษาระดับความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนของระดับความสามารถในการคิดวิเคราะห์สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
    2. ผลการเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยหลังได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนมีค่าเฉลี่ยสูงขึ้นกว่าก่อนได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

    สรุปได้ว่า 
    การจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนเป็นการจัดประสบการณ์อีกทางหนึ่งที่สามารถพัฒนากระบวนการคิดของเด็กปฐมวัยในด้านสติปัญญา เด็กจะได้รับประสบการณ์ตรง เกิดการเรียนรู้ที่หลากหลาย ส่งเาริมให้เด็กได้เรียนรู้โดยการลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง


วันจันทร์ที่ 30 กันยายน 2556
week 16
Science Experiences Management for Early Childhood

   EAED3207 Time from 14.10 - 17.30pm Group Study 102

   ในสัปดาห์นี้เป็นสัปดาห์สุดท้ายของการเรียนการสอน อาจารย์ให้ทำบล็อกของตัวเองให้เรียบร้อย
   อาจารย์ให้นักศึกษาทุกคนส่งงานทุกชิ้นที่ได้รับมอบหมาย ได้แก่ ของเล่นวิทยาศาสตร์ การทดลองวิทยาศาสตร์ สื่อเข้ามุม(กลุ่ม)
   ชิ้นงานของดิฉัน ของเล่น คือ นาฬิกาข้าวสาร
                          การทดลอง คือ แก้วล่องหน
                          สื่อเข้ามุม คือ คานงัด(กระดานหก) กลุ่ม



                               

                             

   อาจารย์ให้ออกไปนำเสนอการทดลองมีเพื่อนออกไปนำเสนอดังนี้
1. หยก   ทำการทดลอง น้ำพุในขวด
2. เฟิร์น  ทำการทดลอง ผ้าเปลี่ยนสี
3. บุ๋ม      ทำการทดลอง มะนาวตกน้ำ
4. จู         ทำการทดลอง ทีเด็ดน้ำยาล้างจาน
5. ตาล    ทำการทดลอง น้ำอัดลมฟองฟู
6. บี        ทำการทดลอง พริกไทยหนีน้ำ
7. เอียร์  ทำการทดลอง ลาวาแลมป์
8. อัน     ทำการทดลอง ไข่ลอยไข่จม







   คำแนะนำจากอาจารย์ในการทำการทดลองกับเด็ก
   การทดลองทุกการทดลองควรมีความปลอดภัยให้กับเด็ก สิ่งที่ไม่ควรจัดให้กับเด็กคือการทดลองที่เกี่ยวกับไฟเพราะอาจทำให้เกิดอันตรายกับเด็กได้รวมถึงของมีคมหรือของที่มีสารเคมีมาก


วันพุธที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2556

วันจันทร์ที่ 23 กันยายน 2556
week 15
Science Experiences Management for Early Childhood

   EAED3207 Time from 14.10 - 17.30pm Group Study 102

   ในสัปดาห์นี้อาจารย์ตฤณให้นักศึกษากลุ่มที่ได้รับเลือกให้ทำอาหารในสัปดาห์ที่แล้ว ออกมาสาธิตการทำ "ข้าวผัด"
   ให้สมมติว่ากลุ่มที่สาธิตการสอนเป็นคุณครู และเพื่อนที่เหลือเป็นนักเรียน ให้บอกส่วนผสมและขั้นตอนการทำอย่างละเอียด หลังจากนั้นให้เพื่อนคนอื่นๆในห้องเรียนลงมือทำข้าวผัดไปพร้อมๆกัน
   อาจารย์สรุปกิจกรรม


"ข้าวผัด"






วันอังคารที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2556

วันจันทร์ที่ 16 กันยายน 2556
week 14
Science Experiences Management for Early Childhood

   EAED3207 Time from 14.10 - 17.30pm Group Study 102

   ในสัปดาห์นี้ อาจารย์ ตฤณ แจ่มถิน (อ.เบียร์) มารับช่วงสอนแทนอาจารย์ จินตนา สุขสำราญ
   อาจารย์ เบียร์ ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มๆละ 4-5 คน เพื่อทำแผน cooking กลุ่มของดิฉันได้ทำวุ้นมะพร้าวอร่อยเหาะ 










วันอาทิตย์ที่ 8 กันยายน 2556
week 13
Science Experiences Management for Early Childhood

   EAED3207 Time from 14.10 - 17.30pm Group Study 102

   ในวันนี้เป็นการเรียนชดเชยของสัปดาห์วันที่ 2 กันยายน ที่อาจารย์ติดธุระไปประชุมที่จังหวัดสระบุรี
   อาจารย์ให้นำเสนอสื่อเข้ามุมเป็นกลุ่ม แต่เพื่อนๆมาน้อยจึงให้เช็คชื่อและนำสื่อกลับไปแก้ไขแล้วมาส่งในสัปดาห์ต่อไป
** ในวันนี้ดิฉันขาดเรียนเนื่องจากไปงานแต่งต่างจังหวัด**
วันจันทร์ที่ 2 กันยายน 2556
week 12
Science Experiences Management for Early Childhood

   EAED3207 Time from 14.10 - 17.30pm Group Study 102

   ในสัปดาห์นี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์ไปประชุมที่จังหวัดสระบุรี

   สิ่งที่ค้นคว้าเพิ่มเติม เรื่องน่ารู้ทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับมนุษย์



1. เรื่องน่ารู้ทางวิทยาศาสตร์?มนุษย์พลังงาน  เชื่อหรือไม่ว่าร่างกายของคนผลิตกระแสไฟฟ้าได้ คนแต่ละคนจะมีพลังงานเทียบเท่ากับการเปิดหลอดไฟฟ้าขนาด 120 วัตต์ เพราะคนที่กินอาหารเข้าไปปริมาณ 2,500 แคลอรีในแต่ละวันจะให้พลังงานความร้อน 104 แคลอรีต่อชั่วโมง ซึ่งเทียบเท่ากระแสไฟฟ้าที่มีพลังงาน 120 วัตต์
2. กะพริบตา  ตลอดชีวิตของคนเรานั้นเราต้องกะพริบตาถึง 250 ล้านครั้งทีเดียว เพราะเราจะต้องกะพริบตาทุก ๆ 6 วินาที ทำให้กล้ามเนื้อตาเคลื่อนไหวประมาณ 10,000 ครั้งต่อวัน ถ้าเปรียบกับการทำงานของกล้ามเนื้อขาแล้ว จะ
เท่ากับวิ่งระยะทาง 80 กิโลเมตรต่อวัน
3. สมองบริโภค  เชื่อหรือไม่ว่าตอนแรกเกิดสมองของเราหนักประมาณ 3% ของน้ำหนักตัวเท่านั้น แต่เมื่ออายุได้ประมาณ 15 ปี สมองจะหนักถึง 1.4 กิโลกรัมและจะมีขนาดคงที่ สมองเติบโตได้เพราะใช้พลังงานจากอากาศที่เราหายใจเข้าไป 20% และใช้เลือดหล่อเลี้ยงถึง 15% ของเลือดทั้งหมดในร่างกาย
4. กระบวนการคิด  นักวิทยาศาสตร์พิสูจน์แล้วว่า อิริยาบถต่าง ๆ มีผลต่อการคิดและการตัดสินใจของมนุษย์ การนอนคิดจะทำให้ความคิดกว้างไกล การยืนทำให้ความคิดแคบลงสามารถตัดสินใจได้เร็วขึ้น ส่วนการนั่งเป็นอิริยาบถที่เหมาะกับการตัดสินใจที่ไม่รีบร้อนเท่าใดนัก  ผมงอก โดยปกติ ใน 1 สัปดาห์ผมจะงอกออกมา 2 มิลลิเมตรใน 1 วัน จะมีช่วงที่ผมงอกได้ดี 2 ช่วง คือ ระหว่างเวลา 10.00 ? 11.00 น. และ 16.00 ? 18.00 น. แต่ไม่ต้องเอากระจกไปส่องดูการงอกของเส้นผมหรอกนะ เพราะมันแทบจะมองไม่เห็นเลย
5. เส้นขนแข็งแรง  โดยเฉลี่ยแล้ว คนเราจะมีเส้นขนประมาณ 5 ล้านเส้นทั่วร่างกาย ยกเว้นบริเวณริมฝีปาก ฝ่ามือและฝ่าเท้า เส้นขนที่แข็งแรงที่สุดคือหนวด เชื่อหรือไม่ว่าหนวดแข็งแรงพอ ๆ กับลวดทองแดงที่มีขนาดเท่ากันเลยทีเดียว
6. เรื่องน่ารู้ทางวิทยาศาสตร์?ตาแหลมคม  ตาของเหยี่ยวสามารถมองเห็นแมลงวันที่อยู่ในระยะครึ่งไมล์ได้ ส่วนเสือดาวก็สามารถมองเห็นคนกะพริบตาที่ระยะห่าง 100 หลาได้ ตาของคนก็มีความพิเศษเช่นเดียวกัน เพราะสามารถแยกแยะความแตกต่างของสีได้มากถึง 17,000 สี
7. ตาที่สาม  เชื่อหรือไม่ว่ามนุษย์มีสามตา ตาที่สามนี้ก็คือต่อมไพเนียลซึ่งอยู่ด้านหลังของกะโหลกศีรษะ ภายในต่อมมีสารเคมีที่มีชื่อว่าเซโรโตนินอยู่เป็นจำนวนมาก เชื่อกันว่า สารชนิดนี้ช่วยส่งผลให้มนุษย์มีการคิดอย่างสมเหตุสมผล นักวิทยาศาสตร์จึงเปรียบต่อมนี้ว่าเป็นตาที่สามของมนุษย์
8. ฮัดเช้ย!  เมื่อมีสิ่งแปลกปลอมเข้ามาทำให้จมูกของเราเกิดการระคายเคือง เราจะจามออกมาโดยอัตโนมัติ ทุกครั้งที่เราจามจะมีน้ำลายฟุ้งกระจายออกมาถึง 100,000 หยด ด้วยอัตราเร็ว 152 ฟุตต่อวินาที
9. ริมฝีปาก  เคยสงสัยกันหรือไม่ครับว่าทำไมริมฝีปากของเราจึงมีสีแดงมากกว่าส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะผิวหนังบริเวณริมฝีปากบางกว่าส่วนอื่น ๆ นั่นเอง จึงทำให้สามารถมองเห็นสีของเลือดใต้ผิวหนังได้

10. ยิ้มแย้ม  ร่างกายของเราประกอบด้วยกล้ามเนื้อประมาณ 650 มัด หากเราหน้าบึ้งจะต้องใช้กล้ามเนื้อประมาณ 400 มัด ในขณะที่การยิ้มใช้กล้ามเนื้อ 15 มัด เท่านั้น และพลังงานที่ใช้ก็น้อยกว่าการขมวดคิ้ว 1 ครั้งเสียอีก เชื่อกันว่าการขมวดคิ้ว 200,000 ครั้ง ทำให้เกิดรอยตีนกา 1 รอย

วันจันทร์ที่ 26 สิงหาคม 2556
week 11
Science Experiences Management for Early Childhood

   EAED3207 Time from 14.10 - 17.30pm Group Study 102

   ในสัปดาห์นี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากมีการจัดงานเกษียณของอาจารย์ กรรณิการ์ สุสม แต่ได้เข้าร่วมงานแทน




   

วันอาทิตย์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2556

วันจันทร์ที่ 19 สิงหาคม 2556
week 10
Science Experiences Management for Early Childhood

   EAED3207 Time from 14.10 - 17.30pm Group Study 102

   ในสัปดาห์นี้อาจารย์ให้นำการทดลองที่เหมาะสมกับเด็กปฐมวัยมานำเสนอหน้าห้องเรียน 

ภาพกิจกรรมนำเสนอการทดลอง



   ในขณะที่นำเสนอการทดลองอาจารย์ก็ได้ให้คำแนะนำ ว่าควรใช้คำพูดแบบใดกับเด็ก จะนำเสนออย่างไรให้เด็กได้ตอบคำถามแบบต่อยอดไปเรื่อยๆ ควรนำเสนอในรูปแบบที่ให้เด็กเกิดความคิดหรือเกิดคำถามใหม่ๆ และให้เด็กได้ใช้ประสบการณ์เดิมจากการตอบคำถามด้วย
   อย่างเช่น เด็กๆเห็นอะไรบนโต๊ะคุณครูบ้างคะ
                 เมื่อเด็กตอบสิ่งของที่อยู่บนโต๊ะแล้ว ให้ครูถามต่อไปว่า สิ่งของเหล่านี้เอาไปทำอะไรได้บ้างคะ และเมื่อเด็กตอบครูก็สามารถเริ่มการทดลองได้  

วันเสาร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2556

วันจันทร์ที่ 12 สิงหาคม 2556
week 9
Science Experiences Management for Early Childhood

   EAED3207 Time from 14.10 - 17.30pm Group Study 102

   ในสัปดาห์นี้เป็นสัปดาห์ของวันแม่แห่งชาติ จึงไม่มีการเรียนการสอน
   

     วันแม่แห่งชาติในประเทศไทย ปัจจุบันตรงกับวันที่ 12 สิงหาคมของทุกปี ซึ่งตรงกับวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ โดยเริ่มใช้วันดังกล่าวเป็นวันแม่แห่งชาติเมื่อ .. 2519 ก่อนหน้านั้นเคยใช้วันที่ 10 มีนาคม, 15 เมษายน, และ 4 ตุลาคม

     สัญลักษณ์ที่ใช้ในวันแม่คือ ดอกมะลิ ซึ่งมีสีขาว ส่งกลิ่นหอมได้ไกลและได้นาน อีกทั้งยังออกดอกได้ตลอดทั้งปี โดยตีความเปรียบกับความรักบริสุทธิ์ของแม่ที่มีต่อลูกไม่เสื่อมคลาย

ความเป็นมาของวันแม่แห่งชาติในประเทศไทย
     งานวันแม่จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 มีนาคม .. 2486 สวนอัมพร โดยกระทรวงสาธารณสุข แต่ช่วงนั้นเกิดสงครามโลกครั้งที่ งานวันแม่ในปีต่อมาจึงต้องงดไป เมื่อวิกฤติสงครามสงบลง หลายหน่วยงานได้พยายามให้มีวันแม่ขึ้นมาอีก แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร และมีการเปลี่ยนกำหนดวันแม่ไปหลายครั้ง ต่อมาวันแม่ที่รัฐบาลรับรอง คือวันที่ 15 เมษายน โดยเริ่มจัดตั้งแต่ปี .. 2493 แต่ก็ต้องหยุดลงอีกในหลายปีต่อมา เนื่องจากกระทรวงวัฒนธรรมถูกยุบไป ส่งผลให้สภาวัฒนธรรมแห่งชาติซึ่งรับหน้าที่จัดงานวันแม่ขาดผู้สนับสนุน

     ต่อมาสมาคมครูคาทอลิกแห่งประเทศไทย ได้จัดงานวันแม่ขึ้นอีกครั้ง ในวันที่ 4 ตุลาคม .. 2515 แต่จัดได้เพียงปีเดียวเท่านั้น จนกระทั่งในปี .. 2519 คณะกรรมการอำนวยการสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จึงได้กำหนดวันแม่ขึ้นใหม่ให้เป็นวันที่แน่นอน โดยถือเอาวันเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ วันที่ 12 สิงหาคมเป็นวันแม่แห่งชาติ และกำหนดให้ดอกไม้สัญลักษณ์ของวันแม่ คือ ดอกมะลิ นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา










วันศุกร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2556

วันจันทร์ที่ 5 สิงหาคม 2556
week 8 
Science Experiences Management for Early Childhood

  EAED3207 Time from 14.10 - 17.30pm Group Study 102

   ในสัปดาห์นี้ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากยังเป็นสัปดาห์สอบกลางภาค 
   สิ่งที่ค้นคว้าเพิ่มเติม  เรื่อง ความลับของสี



    สีต่างๆที่เราเห็น ไม่ได้ประกอบด้วยสีเดียวเสมอไปนะ  ในแต่ละสีอาจมีรวมกันอยู่ถึง 4 สี เรามาทดลองเพื่อเผยความลับของสีกันเถอะ

สิ่งที่ต้องใช้
- สีเมจิ สีดำ , น้ำเงิน , น้ำตาล (สีเข้มๆจะให้ผลการทดลองที่น่าตื่นเต้น)
- กระดาษกรองกาแฟ , กรองตะกอนน้ำมัน
- แก้วใส่น้ำ

วิธีทดลอง
1. ตัดกระดาษกรองเป็นแถบยาวๆ
2. ระบายสีเมจิที่ต้องการทดสอบให้เป็นแถบหนา โดยห่างจากปลายกระดาษประมาณ 1 ซม.
3. จุ่มปลายกระดาษในช่วงที่เว้นไว้ 1ซม. ลงในน้ำ *ระวังอย่าให้เส้นสีที่ขีดไว้จมน้ำ เพราะสีจะลายลายลงน้ำ
4. รอดู สังเกตแถบสีที่เริ่มไต่สูงขึ้นไปบนกระดาษกรอง  เธอเห็นสีอะไรซ่อนอยู่?
5. นำกระดาษไปหนีบผึ่งไว้กับที่ตากถุงเท้า แล้วทดลองสีต่อไป

เพราะอะไรกันนะ
          สีสังเคราะห์เกิดจากการผสมของแม่สี คือ แดง เหลือง น้ำเงิน ในอัตราส่วนไม่เท่ากัน ทำให้เกิดสีต่างๆมากมาย  การแยกสีด้วยกระดาษกรองนี้ เราเรียกว่า "เปอเปอร์โครมาโทกราฟี" (Paper Chromatography) ซึ่งเป็นการแยกสารที่ผสมกันในปริมาณน้อยให้แยกออกมาเป็นแถบเส้นสีหรือแถบสี อาศัยสมบัติ 2 ประการ คือ
    1. สารต่างชนิดกันมีความสามารถในการละลายในตัวทำละลาย (น้ำ) ได้ต่างกัน
    2. สารต่างชนิดกันมีความสามารถในการถูกดูดซับด้วยตัวดูดซับ (กระดาษกรอง)ได้ต่างกัน
สารที่ละลายในตัวทำละลายได้ดีส่วนมากจะถูกดูดซับไม่ดี จึงเคลื่อนที่ไปได้ไกล ส่วนสารที่ละลายในตัวทำละลายได้ไม่ดี ส่วนมากจะถูกดูดซับได้ดีจึงอยู่ใกล้จุดเริ่มต้น






วันอาทิตย์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2556

วันจันทร์ที่ 29 กรกฎาคม 2556
week 7
Science Experiences Management for Early Childhood

  EAED3207 Time from 14.10 - 17.30pm Group Study 102

   ในสัปดาห์นี้เข้าสู่การสอบกลางภาค จึงไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากอาจารย์ให้เวลาอ่านหนังสือสอบ
   ดิฉันค้นคว้าเพิ่มเติมเรื่อง สนุกกับฟองสบู่




โดยปกติน้ำจะมีแรงตึงผิวเราสามารถเพิ่มแรงตึงผิวของน้ำให้มากขึ้นได้โดยใส่น้ำตาลหรือเยลาตินหรือกรีเซอรีน จะทำให้ฟองสบู่คงรูปอยู่ได้นาน แต่ทราบหรือไม่ว่าสารทั้งสามนั้น เพิ่มแรงตึงผิวของน้ำ ได้แตกต่างกันซึ่งจะทำให้ฟองสบู่คงรูปอยู่ได้นานแตกต่างกัน  
อุปกรณ์
      1.  สบู่เหลว
      2.  หลอดกาแฟ
      3.  น้ำตาลหรือ เยลาตินหรือกรีเซอรีน 
 วิธีทำ
      ผสมน้ำ 8 ส่วนต่อสบู่เหลว 1 ส่วน แล้วใช้หลอดกาแฟจุ่มน้ำสบู่เป่าเป็นฟองสบู่

      ปัญหา : จงพิสูจน์ว่าน้ำตาล กรีเซอรีนหรือเยลาติน สามารถทำให้ฟองสบู่คงรูปอยู่ได้นานจริงหรือไม่ และสารชนิดใดทำให้ฟองสบู่คงรูปอยู่ได้นานที่สุด 

วันเสาร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2556

วันอาทิตย์ที่ 28 กรกฎาคม 2556
week 6
Science Experiences Management for Early Childhood

   EAED3207 Time from 14.10 - 17.30pm Group Study 102
   
   ในวันนี้เป็นการเรียนการสอนชดเชยของวันจันทร์ที่ 22 กรกฎาคม เนื่องจากหยุดวันอาสาฬหบูชา
   อาจารย์ให้เพื่อนที่นำของเล่นกลับไปแก้ไขมาส่งและออกไปนำเสนอใหม่พร้อมบอกวิธีขั้นตอนการทำและให้เพื่อน1คนออกไปลองทำและลองเล่นชิ้นงานของเพื่อนที่ออกไปนำเสนอ






    อาจารย์ได้นำสื่อของเล่นที่รุ่นพี่ประดิษฐ์มาให้นักศึกษาดู เพื่อเป็นไอเดียให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างงานชิ้นต่อๆไป เช่น ตุ๊กตาตีลัง คือ การที่ตุ๊กตาตีลังได้เพราะ แรงโน้มถ่วงที่ถ่วงโดยวัตถุที่หนัก จากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ จึงทำให้ตุ๊กตาตีลังกาได้ ตุ๊กตาล้มลุก จากการใช้ยางลบถ่วงข้างในรูปตุ๊กตาลายต่างๆ


วันพุธที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2556

วันจันทร์ที่ 22 กรกฎาคม 2556
week 5

Science Experiences Management for Early Childhood

    EAED3207 Time from 14.10 - 17.30pm Group Study 102

   ในสัปดาห์นี้เป็นวันหยุดเนื่องในวันอาสาฬหบูชาจึงไม่มีการเรียนการสอน

ประวัติวันอาสาฬหบูชา 
       วันอาสาฬหบูชา เป็นวันสำคัญวันหนึ่งของพระพุทธศาสนา ตรงกับวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ในสมัยพุทธกาลมีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้น 4 ประการ ดังต่อไปนี้
       1. เป็นวันที่พระบรมศาสดาทรงแสดงพระธรรมเทศนาเป็นครั้งแรก แก่ปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 รูป ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี
       2. เป็นวันที่พระบรมศาสดาทรงได้พระสาวกองค์แรก คือ ท่านโกญฑัญญะได้บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบันองค์แรก



  

           3. เป็นวันที่มีพระสงฆ์เกิดขึ้นเป็นรูปแรก คือ พระอัญญาโกญฑัญญะ ภายหลังจากที่ได้บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบันแล้ว ก็ได้ทูลขออุปสมบท พระพุทธองค์ทรงประทานการอุปสมบท ยกขึ้นเป็นพระภิกษุรูปแรกในพระพุทธศาสนา

        4. เป็นวันเกิดขึ้นของพระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ครบเป็นครั้งแรก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีพระสงฆ์เกิดขึ้นเป็นพยานในการตรัสรู้ธรรม ความเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของพระพุทธองค์ก็ครบถ้วนบริบูรณ์ คือ มิใช่เพียงแค่ตรัสรู้ธรรมเพียงพระองค์เดียวอย่างพระปัจเจกพุทธเจ้า


ธรรมเนียมปฏิบัติในวันอาสาฬหบูชา 
     จากความสำคัญของวันอาสาฬหบูชาข้างต้นนี้ ทำให้ปู่ย่าตายายท่านจับหลักได้ว่า การเรียนสรรพวิชาใดๆ ก็ตาม ผู้ที่จะแตกฉานลึกซึ้งในความรู้นั้นได้ มีความจำเป็นต้องศึกษาแม่บทให้แตกฉานก่อน เช่น ถ้าเป็นวิชาคำนวณในทางโลกต้องใช้สูตรคูณเป็นแม่บท ในทางธรรมก็เช่นเดียวกัน การที่จะศึกษาธรรมะให้แตกฉาน ต้องศึกษาธัมมจักกัปปวัตตนสูตรเป็นแม่บททางธรรม


     ปู่ย่าตายายท่านจับหลักตรงนี้ได้ เมื่อถึงวันอาสาฬหบูชา ท่านจึงขวนขวายไปวัดเพื่อฟังพระธรรมเทศนาเรื่องธัมมจักกัปปวัตตนสูตร เพื่อเป็นการทบทวนแม่บทธรรมะทั้งหมดใน พระพุทธศาสนาให้เข้าใจและซาบซึ้งยิ่งขึ้น

     ข้อคิดที่ได้จากตรงนี้คือ ไม่ว่าเราจะทำอะไรก็ตาม ทั้งที่เป็นประโยชน์ส่วนตัว และประโยชน์ของหมู่คณะ ทั้งหมู่คณะเล็ก เช่น ครอบครัว และหมู่คณะใหญ่ คือประเทศชาติ จะต้องมีหลักการที่ชัดเจน มีแม่บทที่ชัดเจน ที่ทุกคนต้องยึดถือปฏิบัติตาม และหลักการนั้นจะต้องสอดคล้องกับหลักธรรมในพระพุทธศาสนาด้วย อีกทั้งต้องถูกนำมาประพฤติปฏิบัติ จนกระทั่งหลักการที่ดีเหล่านั้นกลายเป็นนิสัยประจำตัว นิสัยประจำชาติ จึงจะส่งผลให้ตนเอง หมู่คณะ และประเทศชาติเจริญขึ้น และสงบสุขอย่างยั่งยืน

เพลง วันอาสาฬหบูชา




วันเสาร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2556

วันจันทร์ที่ 15 กรกฎาคม 2556
week 4

Science Experiences Management for Early Childhood

   EAED3207 Time from 14.10 - 17.30pm Group Study 102


   ในสัปดาห์นี้อาจารย์ให้ออกไปนำเสนอของเล่นที่แต่ละคนทำมา ซึ่งดิฉันทำตุ๊กตาล้มลุกจากลูกเทนนิสและลูกปิงปองแต่ไม่ได้ออกไปนำเสนอและซ้ำกับเพื่อนจึงต้องทำของเล่นชิ้นใหม่มา

วันพุธที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

วันจันทร์ที่ 8 กรกฎาคม 2556
week 3

Science Experiences Management for Early Childhood

   EAED3207 Time from 14.10 - 17.30pm Group Study 102

   ในวันนี้ได้เรียนของ น้ำในร่างกายช่วยปรับสมดุล(อุณหภูมิ)ในร่างกาย มนุษย์เราจะขาดน้ำได้ไม่เกิน 3 วัน แต่ถ้าเป็นสัตว์ เช่น อูฐเป็นสัตว์ที่มีความอดทนค่อนข้างสูงมาก สามารถอาศัยอยู่ได้โดยไม่ต้องกินอาหารหรือน้ำได้เป็นเวลานานถึง10วันหรือ2สัปดาห์ เพราะอูฐมีไขมันสะสมไว้ในหนอกและร่างกายเก็บรักษาน้ำได้เป็นอย่างดีจึงสามารถอยู่ในที่ทุรกันดารได้ เช่น ทะเลสาป




ปรากฏการณ์จากอุทกภาค

อุทกภาค หมายถึง
     อุทกภาค  (hydrosphere) หมายถึงส่วนที่เป็นน้ำที่อยู่บนพื้นโลกทั้งหมด ประกอบด้วย น้ำจืดที่อยู่ในแหล่งน้ำผิวดินและน้ำใต้ดินร้อยละ3.0 และน้ำเค็มที่อยู่ในเทละและมหาสมุทรร้อยละ  97.0
     น้ำจืด เป็นน้ำที่กระจายอยู่ตามแหล่งน้ำทั้งในระดับที่ผิวดิน น้ำที่อยู่บนผิวดิน เช่น น้ำจืดที่กระจายอยู่ตามแม่น้ำ ลำธาร หนอง คลอง  บึง  รวมถึงธารน้ำแข็งที่ปกคลุมอยู่บนยอดเขาสูง ๆ ที่ละลายเป็นน้ำจืด  ส่วนน้ำใต้ดินและน้ำบาดาล  เป็นน้ำที่ไหลซึมลงไปใต้ดิน  ตามช่องว่างของดินหรือหินผุ  มีลักษณะคล้ายธารน้ำใต้ดิน น้ำจืดจำนวนมากจะอยู่ในรูปของน้ำแข็งโดยเฉพาะบริเวณขั้วโลก
    น้ำเค็มทกระจายอยู่ตามแหล่งน้ำต่างๆของโลก ได้แก่ มหาสมุทร  และทะเล 
ปรากฏการณ์จากอุทกภาคที่สำคัญ มีดังนี้ 
     1.  วัฎจักรของน้ำ หมายถึง การหมุนเวียนเปลี่ยนสถานะของน้ำ จากแหล่งน้ำต่างๆ เช่น มหาสมุทร ทะเล แม่น้ำ หนอง บึง ทะเลสาบ เป็นต้น  ระเหยกลายเป็นไอน้ำลอยขึ้นไปในอากาศรวมกับไอน้ำที่มาจากต้นไม้  คือในขณะที่ต้นไม้ดูด้ำจากพื้นดินแล้วปล่อยให้น้ำออกสู่บรรยากาศโดยผ่านใบไม้ด้วยกระบวนการที่เรียกว่า การหายใจ ไอน้ำในบรรยากาศจะรวมตัวกันและกลั่นตัวเป็นเม็ดฝนหรือหิมะ ตกลงมายังแหล่งน้ำต่างๆ และซึมลงใต้ดิน หมุนเวียนกันอยู่เช่นนี้ตลอดไป
     ปริมาณน้ำที่โลกมีอยู่เกิดจากฝนตกลงในทะเล  มหาสมุทรร้อยละ 77 ฝนตกลงในแผ่นดินร้อยละ 23 ส่วนการระเหยเป็นไอน้ำขึ้นไปในบรรยากาศจะระเหยจากแหล่งน้ำต่างๆร้อยละ 84 และระเหยจากดินและจากการคายน้ำของพืชอีกร้อยละ 16






วันอาทิตย์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556

วันจันทร์ที่ 24 มิถุนายน 2556
week 2

Science Experiences Management for Early Childhood

   EAED3207 Time from 14.10 - 17.30pm Group Study 102

   อาจารย์ให้แบ่งกลุ่ม 6 คน เพื่อที่จะทำกิจกรรม โดยอาจารย์จะแจกเนื้อหาให้แต่กลุ่มอ่าน และรับผิดชอบคนละหัวข้อ  แต่ในวันนี้ดิฉันไม่ได้มาเรียนเนื่องจากกลับต่างจังหวัดไปงานศพแต่ดิฉันได้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม
     กระบวนการทางวิทยาศาสตร์  คือ  วิธีการและขั้นตอนที่ใช้ดำเนินการค้นคว้าหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ 
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
          1) วิธีการทางวิทยาศาสตร์
          2) ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
          3) จิตวิทยาศาสตร์
วิธีการทางวิทยาศาสตร์ (scientific method)
          วิธีการทางวิทยาศาสตร์  เป็นขั้นตอนการทำงานอย่างเป็นระบบที่นักวิทยาศาสตร์ใช้ในการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์  ประกอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้

               1. ขั้นสังเกตเพื่อระบุปัญหา  คือการระบุปัญหา  หรือสิ่งที่ต้องการศึกษา  และกำหนด      ขอบเขตของปัญหา

               2. ขั้นตั้งสมมติฐาน  คือการคิดคำตอบที่คาดหวังว่าควรจะเป็น  หรือการคาดเดาคำตอบ  ที่จะได้รับ

               3. ขั้นการรวบรวมข้อมูล  คือการรวบรวมข้อมูล  การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อตรวจสอบ  สมมติฐานที่ตั้งไว้ว่าถูกหรือผิด โดยมีหลักฐานยืนยัน อาจทำได้โดยการสังเกต หรือการทดลอง

               4. ขั้นสรุปผล  คือการสรุปว่าจะปฏิเสธ หรือยอมรับสมมติฐาน ตามหลักเหตุและผล     เพื่อให้ได้คำตอบของปัญหา