วันศุกร์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ค้นคว้าวิจัย

         เรื่อง ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน (สุมาลี หมวดไธสง)

        จุดมุ่งหมาย 
    เพื่อการศึกษาระดับความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยและเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน

         กลุ่มตัวอย่าง
    เด็กปฐมวัยอายุ 5-6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 โรงเรียนสารสาสน์วิเทศ สุวรรณภูมิ สมุทรปราการ จำนวน 180 คน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบกลุ่ม โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม โดยสุ่มมา 1 ห้องเรียนจำนวน 30 คน

        ตัวแปรที่ศึกษา
    1. ตัวแปรอิสระ  ได้แก่  กิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน
    2. ตัวแปรตาม   ได้แก่  ความสามารถในการคิดวิเคราะห์

        เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า
    1. แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในกิจกรรมวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน
    2. แบบทดสอบในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย
                  2.1 การจัดหมวดหมู่
                  2.2 การหาความสัมพันธ์

        การดำเนินการทดลอง
    การทดลองครั้งนี้ดำเนินการในภาคเรียนที่2 ปีการศึกษา2553 เป็นเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 ครั้ง ครั้งละ 40 นาที รวมเวลาทดลองทั้งสิ้น 24 ครั้ง ในช่วงเวลา 10.00 - 10.40 น. 

        สรุปผลการวิจัย
    1. ผลการศึกษาระดับความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนของระดับความสามารถในการคิดวิเคราะห์สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
    2. ผลการเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยหลังได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนมีค่าเฉลี่ยสูงขึ้นกว่าก่อนได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

    สรุปได้ว่า 
    การจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนเป็นการจัดประสบการณ์อีกทางหนึ่งที่สามารถพัฒนากระบวนการคิดของเด็กปฐมวัยในด้านสติปัญญา เด็กจะได้รับประสบการณ์ตรง เกิดการเรียนรู้ที่หลากหลาย ส่งเาริมให้เด็กได้เรียนรู้โดยการลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น