วันศุกร์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ค้นคว้าวิจัย

         เรื่อง ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน (สุมาลี หมวดไธสง)

        จุดมุ่งหมาย 
    เพื่อการศึกษาระดับความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยและเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน

         กลุ่มตัวอย่าง
    เด็กปฐมวัยอายุ 5-6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 โรงเรียนสารสาสน์วิเทศ สุวรรณภูมิ สมุทรปราการ จำนวน 180 คน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบกลุ่ม โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม โดยสุ่มมา 1 ห้องเรียนจำนวน 30 คน

        ตัวแปรที่ศึกษา
    1. ตัวแปรอิสระ  ได้แก่  กิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน
    2. ตัวแปรตาม   ได้แก่  ความสามารถในการคิดวิเคราะห์

        เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า
    1. แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในกิจกรรมวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน
    2. แบบทดสอบในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย
                  2.1 การจัดหมวดหมู่
                  2.2 การหาความสัมพันธ์

        การดำเนินการทดลอง
    การทดลองครั้งนี้ดำเนินการในภาคเรียนที่2 ปีการศึกษา2553 เป็นเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 ครั้ง ครั้งละ 40 นาที รวมเวลาทดลองทั้งสิ้น 24 ครั้ง ในช่วงเวลา 10.00 - 10.40 น. 

        สรุปผลการวิจัย
    1. ผลการศึกษาระดับความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนของระดับความสามารถในการคิดวิเคราะห์สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
    2. ผลการเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยหลังได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนมีค่าเฉลี่ยสูงขึ้นกว่าก่อนได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

    สรุปได้ว่า 
    การจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนเป็นการจัดประสบการณ์อีกทางหนึ่งที่สามารถพัฒนากระบวนการคิดของเด็กปฐมวัยในด้านสติปัญญา เด็กจะได้รับประสบการณ์ตรง เกิดการเรียนรู้ที่หลากหลาย ส่งเาริมให้เด็กได้เรียนรู้โดยการลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง


วันจันทร์ที่ 30 กันยายน 2556
week 16
Science Experiences Management for Early Childhood

   EAED3207 Time from 14.10 - 17.30pm Group Study 102

   ในสัปดาห์นี้เป็นสัปดาห์สุดท้ายของการเรียนการสอน อาจารย์ให้ทำบล็อกของตัวเองให้เรียบร้อย
   อาจารย์ให้นักศึกษาทุกคนส่งงานทุกชิ้นที่ได้รับมอบหมาย ได้แก่ ของเล่นวิทยาศาสตร์ การทดลองวิทยาศาสตร์ สื่อเข้ามุม(กลุ่ม)
   ชิ้นงานของดิฉัน ของเล่น คือ นาฬิกาข้าวสาร
                          การทดลอง คือ แก้วล่องหน
                          สื่อเข้ามุม คือ คานงัด(กระดานหก) กลุ่ม



                               

                             

   อาจารย์ให้ออกไปนำเสนอการทดลองมีเพื่อนออกไปนำเสนอดังนี้
1. หยก   ทำการทดลอง น้ำพุในขวด
2. เฟิร์น  ทำการทดลอง ผ้าเปลี่ยนสี
3. บุ๋ม      ทำการทดลอง มะนาวตกน้ำ
4. จู         ทำการทดลอง ทีเด็ดน้ำยาล้างจาน
5. ตาล    ทำการทดลอง น้ำอัดลมฟองฟู
6. บี        ทำการทดลอง พริกไทยหนีน้ำ
7. เอียร์  ทำการทดลอง ลาวาแลมป์
8. อัน     ทำการทดลอง ไข่ลอยไข่จม







   คำแนะนำจากอาจารย์ในการทำการทดลองกับเด็ก
   การทดลองทุกการทดลองควรมีความปลอดภัยให้กับเด็ก สิ่งที่ไม่ควรจัดให้กับเด็กคือการทดลองที่เกี่ยวกับไฟเพราะอาจทำให้เกิดอันตรายกับเด็กได้รวมถึงของมีคมหรือของที่มีสารเคมีมาก


วันพุธที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2556

วันจันทร์ที่ 23 กันยายน 2556
week 15
Science Experiences Management for Early Childhood

   EAED3207 Time from 14.10 - 17.30pm Group Study 102

   ในสัปดาห์นี้อาจารย์ตฤณให้นักศึกษากลุ่มที่ได้รับเลือกให้ทำอาหารในสัปดาห์ที่แล้ว ออกมาสาธิตการทำ "ข้าวผัด"
   ให้สมมติว่ากลุ่มที่สาธิตการสอนเป็นคุณครู และเพื่อนที่เหลือเป็นนักเรียน ให้บอกส่วนผสมและขั้นตอนการทำอย่างละเอียด หลังจากนั้นให้เพื่อนคนอื่นๆในห้องเรียนลงมือทำข้าวผัดไปพร้อมๆกัน
   อาจารย์สรุปกิจกรรม


"ข้าวผัด"






วันอังคารที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2556

วันจันทร์ที่ 16 กันยายน 2556
week 14
Science Experiences Management for Early Childhood

   EAED3207 Time from 14.10 - 17.30pm Group Study 102

   ในสัปดาห์นี้ อาจารย์ ตฤณ แจ่มถิน (อ.เบียร์) มารับช่วงสอนแทนอาจารย์ จินตนา สุขสำราญ
   อาจารย์ เบียร์ ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มๆละ 4-5 คน เพื่อทำแผน cooking กลุ่มของดิฉันได้ทำวุ้นมะพร้าวอร่อยเหาะ 










วันอาทิตย์ที่ 8 กันยายน 2556
week 13
Science Experiences Management for Early Childhood

   EAED3207 Time from 14.10 - 17.30pm Group Study 102

   ในวันนี้เป็นการเรียนชดเชยของสัปดาห์วันที่ 2 กันยายน ที่อาจารย์ติดธุระไปประชุมที่จังหวัดสระบุรี
   อาจารย์ให้นำเสนอสื่อเข้ามุมเป็นกลุ่ม แต่เพื่อนๆมาน้อยจึงให้เช็คชื่อและนำสื่อกลับไปแก้ไขแล้วมาส่งในสัปดาห์ต่อไป
** ในวันนี้ดิฉันขาดเรียนเนื่องจากไปงานแต่งต่างจังหวัด**
วันจันทร์ที่ 2 กันยายน 2556
week 12
Science Experiences Management for Early Childhood

   EAED3207 Time from 14.10 - 17.30pm Group Study 102

   ในสัปดาห์นี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์ไปประชุมที่จังหวัดสระบุรี

   สิ่งที่ค้นคว้าเพิ่มเติม เรื่องน่ารู้ทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับมนุษย์



1. เรื่องน่ารู้ทางวิทยาศาสตร์?มนุษย์พลังงาน  เชื่อหรือไม่ว่าร่างกายของคนผลิตกระแสไฟฟ้าได้ คนแต่ละคนจะมีพลังงานเทียบเท่ากับการเปิดหลอดไฟฟ้าขนาด 120 วัตต์ เพราะคนที่กินอาหารเข้าไปปริมาณ 2,500 แคลอรีในแต่ละวันจะให้พลังงานความร้อน 104 แคลอรีต่อชั่วโมง ซึ่งเทียบเท่ากระแสไฟฟ้าที่มีพลังงาน 120 วัตต์
2. กะพริบตา  ตลอดชีวิตของคนเรานั้นเราต้องกะพริบตาถึง 250 ล้านครั้งทีเดียว เพราะเราจะต้องกะพริบตาทุก ๆ 6 วินาที ทำให้กล้ามเนื้อตาเคลื่อนไหวประมาณ 10,000 ครั้งต่อวัน ถ้าเปรียบกับการทำงานของกล้ามเนื้อขาแล้ว จะ
เท่ากับวิ่งระยะทาง 80 กิโลเมตรต่อวัน
3. สมองบริโภค  เชื่อหรือไม่ว่าตอนแรกเกิดสมองของเราหนักประมาณ 3% ของน้ำหนักตัวเท่านั้น แต่เมื่ออายุได้ประมาณ 15 ปี สมองจะหนักถึง 1.4 กิโลกรัมและจะมีขนาดคงที่ สมองเติบโตได้เพราะใช้พลังงานจากอากาศที่เราหายใจเข้าไป 20% และใช้เลือดหล่อเลี้ยงถึง 15% ของเลือดทั้งหมดในร่างกาย
4. กระบวนการคิด  นักวิทยาศาสตร์พิสูจน์แล้วว่า อิริยาบถต่าง ๆ มีผลต่อการคิดและการตัดสินใจของมนุษย์ การนอนคิดจะทำให้ความคิดกว้างไกล การยืนทำให้ความคิดแคบลงสามารถตัดสินใจได้เร็วขึ้น ส่วนการนั่งเป็นอิริยาบถที่เหมาะกับการตัดสินใจที่ไม่รีบร้อนเท่าใดนัก  ผมงอก โดยปกติ ใน 1 สัปดาห์ผมจะงอกออกมา 2 มิลลิเมตรใน 1 วัน จะมีช่วงที่ผมงอกได้ดี 2 ช่วง คือ ระหว่างเวลา 10.00 ? 11.00 น. และ 16.00 ? 18.00 น. แต่ไม่ต้องเอากระจกไปส่องดูการงอกของเส้นผมหรอกนะ เพราะมันแทบจะมองไม่เห็นเลย
5. เส้นขนแข็งแรง  โดยเฉลี่ยแล้ว คนเราจะมีเส้นขนประมาณ 5 ล้านเส้นทั่วร่างกาย ยกเว้นบริเวณริมฝีปาก ฝ่ามือและฝ่าเท้า เส้นขนที่แข็งแรงที่สุดคือหนวด เชื่อหรือไม่ว่าหนวดแข็งแรงพอ ๆ กับลวดทองแดงที่มีขนาดเท่ากันเลยทีเดียว
6. เรื่องน่ารู้ทางวิทยาศาสตร์?ตาแหลมคม  ตาของเหยี่ยวสามารถมองเห็นแมลงวันที่อยู่ในระยะครึ่งไมล์ได้ ส่วนเสือดาวก็สามารถมองเห็นคนกะพริบตาที่ระยะห่าง 100 หลาได้ ตาของคนก็มีความพิเศษเช่นเดียวกัน เพราะสามารถแยกแยะความแตกต่างของสีได้มากถึง 17,000 สี
7. ตาที่สาม  เชื่อหรือไม่ว่ามนุษย์มีสามตา ตาที่สามนี้ก็คือต่อมไพเนียลซึ่งอยู่ด้านหลังของกะโหลกศีรษะ ภายในต่อมมีสารเคมีที่มีชื่อว่าเซโรโตนินอยู่เป็นจำนวนมาก เชื่อกันว่า สารชนิดนี้ช่วยส่งผลให้มนุษย์มีการคิดอย่างสมเหตุสมผล นักวิทยาศาสตร์จึงเปรียบต่อมนี้ว่าเป็นตาที่สามของมนุษย์
8. ฮัดเช้ย!  เมื่อมีสิ่งแปลกปลอมเข้ามาทำให้จมูกของเราเกิดการระคายเคือง เราจะจามออกมาโดยอัตโนมัติ ทุกครั้งที่เราจามจะมีน้ำลายฟุ้งกระจายออกมาถึง 100,000 หยด ด้วยอัตราเร็ว 152 ฟุตต่อวินาที
9. ริมฝีปาก  เคยสงสัยกันหรือไม่ครับว่าทำไมริมฝีปากของเราจึงมีสีแดงมากกว่าส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะผิวหนังบริเวณริมฝีปากบางกว่าส่วนอื่น ๆ นั่นเอง จึงทำให้สามารถมองเห็นสีของเลือดใต้ผิวหนังได้

10. ยิ้มแย้ม  ร่างกายของเราประกอบด้วยกล้ามเนื้อประมาณ 650 มัด หากเราหน้าบึ้งจะต้องใช้กล้ามเนื้อประมาณ 400 มัด ในขณะที่การยิ้มใช้กล้ามเนื้อ 15 มัด เท่านั้น และพลังงานที่ใช้ก็น้อยกว่าการขมวดคิ้ว 1 ครั้งเสียอีก เชื่อกันว่าการขมวดคิ้ว 200,000 ครั้ง ทำให้เกิดรอยตีนกา 1 รอย

วันจันทร์ที่ 26 สิงหาคม 2556
week 11
Science Experiences Management for Early Childhood

   EAED3207 Time from 14.10 - 17.30pm Group Study 102

   ในสัปดาห์นี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากมีการจัดงานเกษียณของอาจารย์ กรรณิการ์ สุสม แต่ได้เข้าร่วมงานแทน